หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำถามทบทวน

1.ฐานแบบจำลองหมายถึงอะไร

เครื่องมือในเชิงแนวความคิดที่ใช้ในการอธิบายข้อมูล โครงสร้างข้อมูล, ความสัมพันธ์ของข้อมูล, ความหมายของข้อมูล และเงื่อนไขบังคับความสอดคล้องกันของข้อมูล 


2.DSS,EIS และGDSS หมายถึงอะไร

DSS คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์

EIS   ย่อมาจาก   executive information system  แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร

หมายถึง    การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย

(GDSS)คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS:Group Decision Support System)เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ 


3.ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

-เชื่อถือได้ ( Reliable) ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศนั้นขึ้นอยู่กับการเก็บรวมรวมข้อมูลจาก แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้

-เข้าใจง่าย ( Simple) สารสนเทศที่ดีจะต้องไม่ซับซ้อน กล่าวคือ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะความซับซ้อนคือการมีรายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไป
-ทันต่อเวลา ( Timely) ต้องเป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัยอยู่เสมอเมื่อต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจจะทำให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
-คุ้มราคา ( Economical) สารสนเทศที่ดีจะต้องผ่านกระบวนการที่มีต้นทุนน้อยกว่าหรือเท่ากับกำไรที่ได้จากการผลิต
-ตรวจสอบได้ ( verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยอาจตรวจสอบจากแหล่งที่มาของสารสนเทศ เป็นต้น
-ยืดหยุ่น ( Fiexible) จะต้องสามารถนำสารสนเทศไปใช้ได้กับบุคคลหลายกลุ่ม
-สอดคล้องกับคว่วมต้องการ ( Relevant) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความสัมพันธ์กับงานที่ต้องการวิเคราะห์ หากเป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงประเด็น
-สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) ระบบสารสนเทศต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
-ปลอดภัย (Secure) ระบบสารสนเทศต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาติ
4.ระบบการทำงานของ DSS แบ่งเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง

✎5 ส่วนได้แก่

-ฐานข้อมูล

-ฐานแบบจำลอง
-ระบบชุดคำสั่งของ DSS
-ข้อมูล
-บุคลากร

5.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศแบ่งเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
-ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

✎ 5 ส่วน

-ฮาร์ดแวร์
-ซอฟต์แวร์
-ข้อมูล
-บุคลากร





วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System)

  1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

            
            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร??
    DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
  2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


เป้าหมายของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือช่วยลดภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่างๆ และช่วยให้การตัดสินใจบริหารงานองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ในองค์กรได้แก่
  1. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ซึ่งเป็นงานหลักของผู้บริหาร เนื่องจากระบบจะช่วยจัดเตรียมสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
  2. พัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหา โดยช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น และยังสามารถช่วยตัดสินปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบอาจจะมีการจัดเตรียมสารสนเทศเกี่ยวกับการตัดสินใจของปัญหาในลักษณะเดียวกับในอดีต และผลที่ได้รับจากการตัดสินใจนั่นๆ เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ระบบ ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้อง รวดเร็ว และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  3. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีการทำงานในลักษณะกลุ่มที่เรียกว่า “Groupware” ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มผู้บริหารได้ โดยทำการปรึกษา ประชุมและเรียกใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยี เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ และช่วยให้การประชุมติดต่องานระหว่างผู้บริหารเป็นไปโดยสะดวกช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีกระบวนการทำงานคล้ายกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจซ้ำๆ จึงช่วยพัฒนาการเรียนรู้และช่วยฝึกหัดการใช้งานระบบให้กับผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถศึกษากระบวนการให้เหตุผลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจผ่านการสอบถามถึงลักษณะปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา กระบวนการให้ข้อเสนอแนะ และกระบวนการให้เหตุผล โดยระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และการฝึกหัดของผู้ใช้คือระบบผู้เชี่ยวชาญ
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ทำให้สามารถบริหารและควบคุมองค์กรได้ดียิ่งขึ้น การบริหารและควบคุมองค์กรเป็นงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจหลายๆ ดังนั้นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
  6. นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าและพนักงานภายในองค์กรช่วยในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต โดยผลผลิตยังคงมีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน ซึ่งผลที่ได้รับทั้งหมดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับองค์กรคู่แข่งที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน และจากประโยชน์ต่าง ๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เจ้าของธุรกิจและผู้บริหารต่างหันมาให้ความสนใจพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับองค์กรของตนเพิ่มมากขึ้น เพิ่มให้องค์กรให้รับประโยชน์ตามที่คาดหวังไว้
            
ผู้มีหน้าที่ในการตัดสินใจเชิงธุรกิจซึ่งโดยส่วนใหญ่จะหมายถึง ผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจดำเนินธุรกิจหรือวางแผนการดำเนินงานเป็นประจำทุกวัน แผนงานเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ผู้ตัดสินใจจะต้องตัดสินใจแก้ไข ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ บางปัญหาผู้ตัดสินใจก็มีข้อมูลและสารสนเทศครบถ้วน ทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างง่าย แต่บางปัญหาที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ก็ต้องอาศัยการประมาณ หรือคาดคะเน จากประสบการณ์ของผู้บริหารเอง ดังนั้นจึงมีการแบ่งแยกประเภทของปัญหาออกเป็น 3 แบบได้แก่
  1.    ปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured problem) เป็นปัญหาที่มีวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจนแน่นอน หรือสามารถจำลองปัญหาได้ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ และแทนค่าในสูตรจนสามารถคำนวณหาคำตอบได้อย่างชัดเจน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปัญหาที่ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลและสารสนเทศประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้โดยการเขียนโปรแกรม
  2.    ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured problem) เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาวิธีการแก้ไขได้อย่างชัดเจนและแน่นอน ไม่สามารถจำลองได้ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปัญหาที่ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลและสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้ตัดสินใจแก้ไขปัญหา
  3.    ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured problem) เป็นปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะส่วนมากจะไม่เกิดซ้ำ และไม่มีกระบวนการดำเนินการมาตรฐานหรือเป็นปัญหาที่มีวิธีการแก้ไขเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะต้องอาศัยประสบการณ์หรือความชำนาญในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้แค่การสนับสนุนเท่านั้น โดยการพัฒนาในด้านปัญญาประดิษฐ์อาจจะช่วยให้การตัดสินใจประเภทนี้มีคุณภาพมากขึ้นได้